วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

แอนาโรบิค (Anaerobic)


       แอนาโรบิก ( Anaerobic Exercise ) คือ การออกกำลังกายที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการเผาผลาญสารอาหารให้เกิดพลังงาน ในการสร้างพลังงานของกล้ามเนื้อ เซลล์ไม่สามารถใช้สารอาหารสร้างพลังงานในทันที แต่ตัวการสำคัญในการสร้างพลังงานคือ เอทีพี ( ATP = Adenosine triphosphate ) เอทีพี เปรียบเสมือนน้ำมันที่ทำให้เกิดการสตาร์ทในนเครื่องยนต์คือ เอทีพีจะสลายตัวเป็นพลังงานให้กับกล้ามเนื้อ เมื่อกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นในฉับพลันทันที หรือเรียกว่าพลังงาน
เร่งด่วนของเซลล์ กลไกที่สร้างพลังงานเอทีพีอย่างต่อเนื่อง ตัวการสำคัญที่จะช่วยสร้างเอทีพีให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คือซีพี ( CP = Creatine Phosphate )
       เมื่อกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นให้ทำงาน เอทีพีจะถูกใช้หมด พลังงานสำรองที่จะทำให้กล้ามเนื้อทำงานต่อไปจะได้จากซีพี ซึ่งประมาณว่าสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ 5 - 8 วินาที กิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เช่น การวิ่งระยะสั้น ,การว่ายน้ำระยะสั้น  ,การเล่นกล้ามในแต่ละเซท   ซึ่งเมื่อใช้พลังงานไปในช่วงเวลาหนึ่งพลังงานที่สะสมก็จะหมด หลังจากนั้นหากยังออกกำลังกายต่อไปร่างกายจะได้พลังงานมาจากการสลาย ไกโคเจน  ( Glycogen ) แทน กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ต้องอาศัยออกซิเจนจากภายนอก เราจึงเรียกกระบวนการนี้ว่า แอนาโรบิกเฟส (Anaerobic phase)

แอโรบิค (aerobic)


       แอโรบิก ( Aerobic Exercise ) เป็นการออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไป และต้องออกกำลังกายติดต่อกันในช่วงระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 20 นาที เช่น วิ่ง และว่ายน้ำระยะไกล ปั่นจักรยานทางไกล เต้นแอโรบิค ร่างกายจะใช้ ไกโคเจน( Glycogen ) ไขมันและโปรตีน เป็นแหล่งพลังงาน พลังงานครั้งแรกก็จะนำมาจากคาร์โบไฮเดรทหลังจากนั้นร่างกายจะใช้พลังงานจากไขมันเป็นพลังงานมากขึ้น  ดังนั้นผู้ที่ต้องการลดความอ้วนจึงต้องออกกำลังกายติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 20 นาที จึงจะได้ผลการออกกำลังกายแบบนี้เป็นการออกำลังกายโดยการใช้ออกซิเจน    เมื่อร่างกายใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรทหมดแล้ว ร่างกายต้องใช้พลังงานจากสารไขมันมาใช้อย่างต่อเนื่อง สังเกตุได้จากการวิ่งระยะไกลนักวิ่งจะหายใจทางปาก  เพราะร่างกายเริ่มทำการเผาผลาญพลังงานจากไขมันเพื่อใช้ให้เป็นพลังงานต่อเนื่อง แต่กระบวนการสร้างพลังงานของไขมันช้ากว่าคาร์โบไฮเดรท  ถึงแม้ไขมันจะให้พลังงานมากกว่าแต่ต้องสิ้นเปลืองออกซิเจนมากกว่า ด้วยเหตุนี้นักวิ่งจึงต้องอ้าปากหายใจแรงและลึก เพื่อนำออกซิเจนไปช่วยในการสันดาปให้พลังงานมากที่สุด  ซึ่งกระบวนการสร้างพลังงานในร่างกายจากสารอาหารคาร์โบไฮเดรท ไขมัน โปรตีน   สารอาหารโปรตีนแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเลย    ซึ่งคาร์โบไฮเดรที่จะถูกใช้มากที่สุด ถัดมาก็จะเป็นไขมัน

สารต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants)

ตามกลไกการเผาผลาญพลังงาน (เพื่อทำให้เซลล์มีชีวิตอยู่)  นั้น เซลล์ทุกเซลล์จะมีการรับสารอาหารที่จำเป็น มีการรับออกซิเจนและกำจัดสิ่งที่เป็นพิษออกจากเซลล์
       กระบวนการเผาผลาญพลังงาน จะทำให้เกิดของเสีย หรือสิ่งที่เป็นพิษ หรือบางครั้ง ของเสีย ของเสียก็เกิดจากการกินเข้าไป เช่น อัลกอฮอล์ ตัวอย่างสารพิษต่อเซลล์ เช่น Aldehyde, Alkohol,Acid ต่างๆ,ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ
       นอกจากนี้ กระบวนการเผาผลาญพลังงาน ยังทำให้เกิดอนุมูลอิสระ หรือ Free radical ซึ่งถือว่าเป็นพิษต่อเซลล์  เจ้า free radical จะทำให้เซลล์และส่วนประกอบของเซลล์เกิดปฏิกริยา Oxidation ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพหรือถูกทำลาย 
       โดยปกติ ร่างกายจะมีการป้องกันหรือลดกระบวนการ Oxidation โดยการสร้างสารต่างๆ ขึ้นมาต่อต้านกระบวนการ oxidation หรือเรียกว่า Anti-Oxidant นอกจากนี้ Anti-Oxidant บางส่วนก็ได้จากอาหารที่กินเข้าไป
       สาร Anti-Oxidation ก็เช่น วิตามิน A, E,C จะยังยั้งการเกิด Oxidation โดยไปจับกับ Free radical เพื่อไม่ให้มาทำอันตรายเซลล์ผ่านกระบวนการ Oxidation ดังที่กล่าวมาแล้ว 
       เดี๋ยวนี้มีการจิจัยมากมายพบว่า สารธรรมชาติมากมายมีคุณสมบัติเป็น Anti-Oxidant ตามธรรมชาติ เช่น สารสกัดจากเมล็ดองุ่น สารสกัดจากใบ Olive ฯลฯ ซึ่งช่วยลดการเกิดกระบวนการ Oxidation นอกจากนี้ก้ได้แก่ วิตามิน ทั้งที่อยู่ในผลไม้ต่างๆ และแบบอัดเม็ดที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไป
อธิบายศัพท์เพิ่มเติม

       อนุมูลอิสระ คือ สารที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย รวมถึงจากมลพิษต่างๆ
 เช่น โอโซน โลหะหนัก ควันบุหรี่ อนุมูลอิสระ เหล่านี้ จะทำลายโครงสร้าง และหน้าที่ของผนังเซลล์ ก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆ เช่นโรคชรา (แกก่อนวัย) เนื่องจากเซลล์ถูกลาย โรคหลอดเลือด และ หัวใจขาดเลือด โรคเสื่อมของระบบต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงการกลายพันธุ์ของเซลล์ ซึ่งาจพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ ร่างกายของเราจะสร้าง อนุมูลอิสระนี้ตลอดเวลา จึงต้องมีกลไกในการควบคุมสารนี้และผลผลิตของมันเพื่อไม่ให้ลุกลามไปทำร้ายร่างกายของเรา

       
free radical คืออะตอม หรือ กลุ่มของอะตอม ที่มีอีเล็กตรอนเดี่ยว หรืออีเล็กตรอนที่ไม่มีคู่ (unpaired e-) ซึ่งไม่เสถียร (unstable) และมีพลังงานสูง (extra energy) มีความว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาสูง (high reactivity) เพราะไม่ได้เกิดพันธะกับอะตอมตัวอื่นเพื่อ form โมเลกุล 
       ดังนั้น เมื่อมันวิ่งเข้าไปทำปฏิกิริยากับอะไรก็ตาม โมเลกุลนั้นๆ ก็จะสูญเสียอีเล็กตรอนของมันเอง เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น กลายเป็น free radical ตัวใหม่ กลายเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction) เหมือนกับโดมิโน เมื่อกระบวนการนี้เริ่มต้นขึ้น จะส่งผลเสียหายกับเซลล์ของเรา เพราะมันอาจไปเกิดปฏิกิริยากับส่วนที่สำคัญของร่างกาย เช่น DNA หรือ เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ซึ่งจะส่งผลให้เซลล์ทำงานแย่ลงหรือตายได้ การป้องกันไม่ให้ free radical ทำอันตรายร่างกายโดยใช้ antioxidant

       Anti-oxidant 
ก็คือ คือสารที่ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น หรือทำให้ปฏิกิริยาเกิดช้าลง
       โดยอาจทำหน้าที่ได้หลายแบบ : ลดพลังงานของ free radical, หยุดการเกิด free radical หรือขัดขวางการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ เพื่อทำให้ free radical ไปทำลายเซลล์ได้น้อยที่สุด
       โมเลกุลของ antioxidant จะเข้าทำปฏิกิริยากับ free radical และทำให้ปฏิกิริยาลูกโซ่สิ้นสุดลงก่อนที่โมเลกุลในร่างกายเราจะถูกทำลาย โดยการให้อีเล็กตรอนของมันแก่ free radical โดยที่ antioxidant จะไม่เกิดเป็น free radical ตัวใหม่เพราะตัวมันเสถียรทั้งแบบที่มีอีเล็กตรอนคู่หรือเดี่ยว (เป็น stable free radical) antioxidant จึงช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อถูกทำลายได้
       oxidantion คือปฏิกิริยาเคมี ที่เอาออกซิเจนเข้าไปในปฏิกิริยา 

       oxidant 
คือตัวที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ว่านั้น
       คำว่าปฏิกิริยา (reaction) นี่คือการที่สารทำอะไรกัน แล้วให้อะไรออกมา ที่ออกมาจะดีไม่ดีตามแต่ละปฏิกิริยา
       ยกตัวอย่างในทางอาหาร เช่นการเอาหมูสามชั้นวางทิ้งไว้ ทำไมมันหืน มันเปลี่ยนสี    คำตอบคือ นอกจากมันเน่าเสียจากเชื้อจุลินทรีย์แล้ว  ออกซิเจนในอากาศถูกดึงเข้าไปทำปฏิกิริยา ออกซิเดชั่น กับไขมันในหมู เกิด ฟรีแรดดิเคิล free radical  (ตามที่อธิบายไว้ก่อนหน้านี้) ขึ้นเต็มไปหมด เช่น อัลดีไฮด์ คีโตน พวกนี้มีกลิ่นเหม็น และมีโครงสร้างที่จัดเป็นสารพิษ 
       บางปฏิกิริยาของ oxidation จะให้สารจำพวก เปอร์ออกไซด์ ออกมา 
 นึกง่ายๆเอาไปเทียบกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นพิษต่อผิว   จากนั้นก็ให้เปรียบเซลล์ผิวหน้าของเราแทนเนื้อหมู ก็จะเห็นได้ว่าออกซิเดชั่นเกิดขึ้นทุก cell ของร่างกายเลย

       
และบางครั้ง free radical ที่ว่างๆ (ก็บอกแล้วว่าอนุมูลอิสระ ว่างจัด) มันก็จะไปจับกับอะตอมนั้นนี้ ขึ้นมาเกิดเป็นสารแปลกๆที่ร่างกายเราไม่เคยมี ก็เป็นพิษอีก เผลอๆสารนี้ก็เข้าไปแปะกับเซลล์ผิวเรา ทำให้เซลล์เปลี่ยนสภาพไป ที่เคยเปล่งนวล ก็เหี่ยวตายไป

ไกลโคเจน (Glycogen) คืออะไร...?

ไกลโคเจน (Glycogen) 


เป็นน้ำตาลหลายชั้น เป็น polymer ของ glucose อีกชนิดหนึ่ง ที่สัตว์สะสมในร่างกาย โมเลกุล glucose ใน glycogen เชื่อมต่อกันด้วย alpha (1->4) glycosidic bonds  เหมือนกับพวกแป้ง (starch) พบในตับ และกล้ามเนื้อสัตว์ บางทีเรียกว่า แป้งสัตว์ มีส่วนประกอบคล้ายแป้ง  แต่มีกิ่งก้านมากกว่า เมื่อแตกตัวออกจะได้กลูโคส ไม่พบในพืช ไม่มีรสหวาน ไม่ละลายน้ำ  สะสมไว้ในร่างกายของ มนุษย์ และสัตว์ ไม่พบในเซลล์พืช ส่วนใหญ่จะถูกสะสมไว้ ที่ตับและกล้ามเนื้อ

       เมื่อปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดลดลง หรือร่างกายขาดสารอาหาร ตับจะเปลี่ยนไกลโคเจนเป็น กลูโคสเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกายต่อไป ไกลโคเจนประกอบ ด้วยกลูโคสประมาณ 10,000-30,000 โมเลกุล และละลาย น้ำได้เล็กน้อย

- ไกลโคเจนบางทีเรียกว่า แป้งสัตว์

- สัตว์ที่มีไกลโคเจนมาก คือตัวอ่อนผึ้ง และหอยชนิดต่าง ๆ

- ข้าวโพดหวานบางชนิดก็มีโมเลกุล ของไกลโคเจนเช่นกัน

ในระบบทางเดินอาหารของพวก ม้า วัว ควาย มีแบคทีเรียที่สร้างน้ำย่อย เซลลูเลส (cellulase) ซึ่งสามารถย่อย สลายเซลลูโลสได้ สัตว์เหล่านี้จึง สามารถใช้เซลลูโลสเป็นอาหารได้

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554